พระหลวงพ่อผาด กรุวัดดงตาล ลพบุรี พิมพ์ทรงเสือ (No.2044)
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ศิลาแลง | |||||||||||||||
โดย
|
ศิลาแลง | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระกรุ | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระหลวงพ่อผาด กรุวัดดงตาล ลพบุรี พิมพ์ทรงเสือ (No.2044) |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระหลวงพ่อผาด กรุวัดดงตาล ลพบุรี พิมพ์ทรงเสือ เนื้อสีน้ำตาล ปี ๒๔๖๐ หลวงพ่อปานปลุกเสก (No.2044)(ด้านหลังเป็นหลุมเล็กน้อยเดิมในกรุครับ) หลวงพ่อผาด หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หมอผาด ฉายา วิรุตตะโม ท่านเป็นพระเกจิ ที่มีวิชาความรู้ด้านแพทย์แผนโบราณเป็นอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าท่านสามารถรักษาคนง่อยเปลี้ยเสียขาให้กลับมาเดินเหินได้ตามปกติ เลยทีเดียว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค การเรียนนั้นต้องใช้เวลานานพอสมควร เมื่อสำเร็จวิชากลับมายังวัดดงตาล สิ่งแรกที่หลวงพ่อผาดต้องการสร้างคือ "พระเครื่องเมตตามหาอำนาจ" เป็นพระเนื้อดินเผา ลักษณะรูปสี่เหลี่ยมแบบเดียวกับหลวงพ่อปาน แต่รูปสัตว์ที่เป็นอาสนะรองรับองค์พระไม่เหมือนกันและนำเอาของหลวงปู่ศุข ซึ่งองค์พระจะมีรัศมีรอบ ๆ มาประยุกต์ให้เข้ากัน โดยพระของหลวงพ่อผาดนั้นจะมีทรงเสือ เป็นเรื่องของเมตตา ซึ่งเป็นปีเกิดของท่าน และทรงสิงห์นั้นคงเป็นในเรื่องของมหาอำนาจ การสร้างพระเครื่องของท่านได้นำไปให้หลวงพ่อปาน พระอาจารย์ปลุกเสก และท่านนำพระใส่เรือกลับมายังวัดดงตาล โดยในครั้งนั้นท่านจัดให้มีพิธีกรรมสมโภชจนครบไตรมาส 3 เดือน ส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในพระประธานองค์ใหญ่ในพระอุโบสถ หน้าตักกว้างสี่ศอกคืบ ที่เหลือแจกญาติโยมทั่วไป การสร้างพระนั้นได้นำเอา ผงอิทธิเจ ,ผงปถมัง ,ผงมหาราช ,ผงสมเด็จ มาผสมคละเคล้าเข้ากันกับผงหลวงพ่อปาน เพื่อบรรจุผงเหมือนของพระอาจารย์ท่าน ซึ่งขั้นตอนการสร้างพระรุ่นดังกล่าวเกิดขึ้นในประมาณปี 2460 เศษ จะเห็นได้ว่าพระกรุของหลวงพ่อผาด ในชุดนี้ ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างเข้มขลัง พิธีกรรมต่าง ๆ ครบถ้วน โดยพระของท่านสามารถใช้แทนพระของหลวงพ่อปาน หรือหลวงปู่ศุข ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน |
|||||||||||||||
ราคา
|
- | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
- | |||||||||||||||
ID LINE
|
lit5151 ,chao5151 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
881 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 401-5-74377-8
|
|||||||||||||||
แสดงความคิดเห็น | ||||||||||||||||
|